สิ่งที่ทำ
- เก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กและเยาวชน โดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ในประเด็น
– ความต้องการ, ความฝัน
– อยากเรียนอะไร, คิดว่าปัญหาของศูนย์การเรียนตอนนี้คืออะไร, ต้องการอะไรเพิ่ม
- เรียนรู้เรื่องการผลิตสื่อวีดีทัศน์จากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน คือ
– นายคีต์ตะวัน มนูเสวต บทและกำกับการแสดง
– นายสรรฉัตร พรหมสวัสดิ์ ตัดต่อวีดีโอ
– นายคีต์ตะวัตร ชินโครต เสียงและบท
– นายอรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ นักแสดง
– ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ เสียงเพลง
– นายจอนิ โอโดเชา ปราชญ์ชนเผ่าปกาเกอะญอ
ผลที่เกิดขึ้น
- มีสื่อวีดีโอสะท้อนปัญหาสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง เรื่อง “เสียงจากแดนไกล” โดยได้เสนอเรื่องราวสะท้อนสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง และแนวทางการแก้ไขที่ทุกคนได้มีส่วนร่วม ทำให้สังคมได้รับรู้และเข้าใจ เกิดความตระหนักในสิทธิการศึกษาของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้น โดยมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น
– เทศกาลหนังแม่น้ำโขง มีผู้เข้าชมประมาณ 180 คน
– เทศกาลหนังบ้านข้างวัด มีผู้เข้าชมประมาณ 174 คน
– You tube ยอดไลค์ 8 ยอดวิว 64
– Facebook (Surachart Sommana and โจ๊ะ IDEE) ยอดเข้าชม 13,670 ยอดแชร์ 221 ยอดถูกใจ 317 ผู้แสดงความคิดเห็น 43
- ทำให้เด็กผู้ทำโครงการเกิดทักษะในด้านต่างๆ เช่น การติดต่อและประสานงานกับหน่วยงาน การทำงานร่วมกับชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ การเขียนบท การถ่ายทำ การตัดต่อวีดีโอ หนังสั้นเพื่อการสื่อสารให้ดูน่าสนใจมากขึ้น เป็นต้น
- เด็กและเยาวชนสามารถนำเอาบทละครในสื่อวีดีโอ นำมาปรับใช้ในบทการแสดงละครหุ่นเงาเรื่อง ทีเตอโพ เพื่อสะท้อนและสื่อสารสถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นในชุมชน